Friday, March 8, 2013

Welcome to Chandrakasem Thai Chinese Blog

Chandrakasem Rajabhat University  International Education Project :Thai Education for Chinese Student
ความเป็นมา
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาจีนเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 โดยรองศาสตราจารย์มานพ พราหมณโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในสมัยนั้น ได้ทำสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ ว่าด้วยการรับสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาจีนจากวิทยาลัยครูหนานหนิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามในวันที่ 31 มกราคม 2550 โดยสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจากวิทยาลัยครูหนานหนิง และได้รับนักศึกษาจีนเข้าศึกษาเป็นรุ่นแรก จำนวน 69 คน เพื่อเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตร วิชาภาษาไทย ซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี นักศึกษาเสียค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรคนละ $ 1,540
     ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยครูหนานหนิง ได้ส่งนักศึกษาจีนมาศึกษาวิชาภาษาไทย เพื่อรับประกาศนียบัตร วิชาภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยราชภัจันทรเกษม อีกเป็นรุ่นที่ 2 จำนวน 73 คน


สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย เพื่อรองรับนักศึกษาจีนรุ่นแรกที่จบการศึกษาแล้วต้องการ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี โดยใช้เวลาในการศึกษาต่ออีก 1 ปี ซึ่งในปีการศึกษา 2551 มีนักศึกษาจีนสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จำนวน 34 คน และมีนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีเพิ่มเติมอีก จำนวน 8 คน รวมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2551 เป็นจำนวน 42 คน แต่เนื่องจากนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีพื้นฐานการเรียนวิชาภาษาไทยน้อยกว่าหลักสูตรที่สาขาวิชาภาษาไทยจัดการ เรียนการสอนให้นักศึกษา จากวิทยาลัยครูหนานหนิง สาขาวิชาภาษาไทยจึงต้องจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมให้อีกหลายวิชา ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาเรียนมากกว่าที่หลักสูตรกำหนด โดยต้องเรียน 3 ภาคเรียนปกติ และอีก 1 ภาคเรียนฤดูร้อน จึงจะจบการศึกษา และต้องเสียค่าเล่าเรียนถึงคนละ 90,000 บาท ในขณะที่นักศึกษาจีนที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูหนานหนิง เสียค่าเล่าเรียนในอัตราคนละ 50,000 บาท ตลอดหลักสูตร
นอกจากมหาวิทยาลัยครูหนานหนิง รองศาสตราจารย์มานพ พราหมณโชติ ได้ทำสัญญาร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกหลายสถาบัน ดังนี้
ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยครูหนานหนิง ได้ปรับเปลี่ยนสถานภาพขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยครูหนานหนิง และได้ส่งนักศึกษาจีนมาศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นรุ่นที่ 3 จำนวน 102 คน และนักศึกษาจากวิทยาลัยโพลิเทคนิคเศรษฐศาสตร์และการค้ากว่างซี ส่งนักศึกษามาเรียน จำนวน 22 คน และมีนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่น เข้ามาสมัครเรียนเพิ่มอีก 2 คน รวมมีนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาภาษาไทย จำนวน 126 คน
สำหรับระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2552 ได้มีนักศึกษาจีนสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี 36 คน และยังมีนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อีกจำนวน 8 คนที่ได้เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 และจะจบการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 รวมมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2552 ทั้งสิ้น 44 คน
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 รองศาสตราจารย์มานพ พราหมณโชติ ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สภามหาวิทยาลัยมีมติเลือกสรรให้ รองศาสตราจารย์ ดร.เดช พุทธเจริญทอง เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี เป็นเวลา 6 เดือน จนกระทั่งวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 สภามหาวิทยาลัยฯ ได้มีมติให้ ดร.สุชาติ เมืองแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีน จึงได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ 702/2552 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีนชุดใหม่ให้ดำเนินงาน ต่อจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานนักศึกษาจีนจาก วิทยาลัยครูหนานหนิง
วิทยาลัยโพลิเทคนิคเศรษฐศาสตร์และการค้ากว่างซี ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 ได้ส่งนักศึกษามาศึกษาในระดับประกาศนียบัตร วิชาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 จำนวน 22 คน โดยขอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมจัดการเรียนการสอนวิชาการทางด้าน เศรษฐศาสตร์และการค้า เพิ่มเติมให้อีก 4 รายวิชา นักศึกษาต้องเสียค่าเล่าเรียน 50,000 บาท และค่าที่พัก 15,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรคนละ 65,000 บาท

โรงเรียนหัวเฉียวกว่างซี ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 คาดว่าจะส่งนักศึกษามาในปีการศึกษา 2553
มหาวิทยาลัยครูกว่างซี ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 ซึ่งจะส่งนักศึกษามาศึกษาระดับ
ปริญญาตรี ในหลักสูตร 1+3 ในปีการศึกษา 2553

No comments:

Post a Comment